วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

ICT ส่งเสริม E-COMMERCE ไทยก้าวไกลสู่ AEC 2015

Pstitch / ICT ส่งเสริม E-COMMERCE ไทยก้าวไกลสู่ AEC 2015 วรพัฒน์ ทิวถนอม รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดงานประชุมวิชาการโครงการส่งเสริมการทาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง "ส่งเสริม e-Commerce ไทยก้าวไกลสู่ AEC 2015 ว่า ในปี พ.ศ.2558 หรือ ในปี ค.ศ. 2015 ทั้ง10 ชาติอาเซียนจะมีการรวมตัวกัน ภายใต้ชื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community : AEC) เพื่อสร้างตลาดรวมทั้งฐานการผลิตเดียวกัน และแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน ตลอดจนสร้างอานาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้า ในภูมิภาคอื่นๆ โดยได้มีการกำหนดให้แต่ละประเทศมีจุดเด่นด้านต่างๆ เช่น ประเทศพม่า มีจุดเด่นด้านสาขาเกษตรและประมง ประเทศมาเลเซีย มีจุดเด่นด้านสาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอประเทศสิงคโปร์ มีจุดเด่นด้านสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ ส่วนประเทศไทยมีจุดเด่นด้านสาขาการท่องเที่ยว และสาขาการบิน ประเทศไทยนั้น มีภูมิประเทศอยู่ตรงกลางของอาเซียน จึงเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ อย่างไรก็ตาม ไทยยังมีโอกาสในการส่งเสริมอุตสาหกรรมอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย หากมีการพัฒนาโดยหน่วยงานภาครัฐ เช่น การจัดให้มีสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างทั่วถึง มีระบบการเงินการธนาคารที่เข้มแข็ง สนับสนุนและอานวยความสะดวกให้กับภาคเอกชนตั้งแต่การเป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตร และการบริการไปจนถึงการตลาด เพื่อให้เกิดการค้าขายอย่างครบวงจรเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงานได้ดาเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตลอด แต่สิ่งสาคัญ คือ ผู้ประกอบการที่อยู่ในแต่ละอุตสาหกรรมซึ่งเป็นแหล่งรายได้สาคัญของประเทศที่สามารถสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศคิดเป็นมูลค่ากว่า 3.7 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 38 ของจีดีพี จากจานวนSMEs ที่มีมากถึง 2.9 ล้านราย และจากการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีความต้องการในการเข้าถึงตลาดและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาช่วยในการพัฒนาศักยภาพให้กับธุรกิจ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สมใจ ประเสริฐจีรังกุล ผู้อานวยการสานักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สานักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า ในแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ให้ความสาคัญกับการพัฒนาด้าน e-Commerce โดยบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานดังกล่าวซึ่งจากการสารวจสถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย พ.ศ. 2554 ของสานักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น จากปีแรกที่ทาการสารวจ คือ ปี พ.ศ. 2550 ที่มีมูลค่าขายรวม 305,159 ล้านบาท มาเป็น608,587 ล้านบาท ในการสารวจรอบปี พ.ศ. 2553 ซึ่งพบว่ามีมูลค่าสูงขึ้นถึงร้อยละ 199.432 หรือประมาณ 2 เท่าตัว ดังนั้น จึงได้มีการดาเนินการโครงการส่งเสริมการทาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการทาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยได้มีการจัดประชุมแบบเจาะจงกลุ่มเปูาหมายเพื่อรวบรวมข้อมูลมาจัดทาเป็นแนวทางในการส่งเสริมการทาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการทาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 5 อันดับแรก คือ1. อุตสาหกรรมแฟชั่น เสื้อผ้า เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ 2. อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอินเทอร์เน็ต 3.อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 4. อุตสาหกรรมบริการด้านสุขภาพ และ 5. อุตสาหกรรมบริการด้านการศึกษา นอกจากนี้ ยังมีการจัดงานประชุมวิชาการโครงการส่งเสริมการทาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ในหัวข้อ "ส่งเสริม e-Commerce ไทยก้าวไกลสู่ AEC 2015 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และผู้สนใจทั่วไปในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี พ.ศ.2558 รวมทั้งเพื่อร่วมวิเคราะห์ถึงแนวโน้มของธุรกิจ e-Commerce ไทย ในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ.2558 เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการทาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการและผู้สนใจทั่วไป รวมทั้งเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้มีการนาข้อมูลไปใช้ในการสนับสนุนการดาเนินงานของภาคธุรกิจต่อไป

Read more...

อนาคตยางพาราไทย ภายใต้ AEC เลิกกองทุนสงเคราะห์สวนยาง?

Pstitch / อนาคตยางพาราไทย ภายใต้  AEC เลิกกองทุนสงเคราะห์สวนยาง? ผศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้เสนอแนะนโยบายเร่งด่วนเพื่อพัฒนายางพาราไทย ภายใต้ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนและอาเซียน +3 (เกาหลี ใต้ ญี่ปุ่น และจีน) โดยให้ไทยเป็นศูนย์ กลางยางพารา (HUB) เนื่องจากว่าไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ซึ่งเป็นจุดแข็งในการสร้างอำนาจต่อรองและเป็นผู้กำหนดราคา อีกทั้งยังจะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตอุตสาหกรรมปลายน้ำของยางพาราและอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มจากการแปรรูปยางพาราอีกทางหนึ่งด้วย รัฐต้องปล่อยให้ราคายางเป็นไปตามกลไกตลาดไม่แทรกแซง แต่ควรหันไปส่งเสริมอุตสาหกรรมปลายน้ำและการสร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์ยางต่างๆ เพื่อช่วยแก้ปัญหาทั้งราคาและการพึ่งพิงตลาดต่างประเทศ อีกทั้งจะต้องเร่งการจัดตั้งการยางแห่งประเทศไทย ด้วยการยกร่างพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทยให้ยกเลิกกองทุนสงเคราะห์การทาสวนยางและองค์การสวนยางและให้จัดตั้งการยางแห่งประเทศไทย เพื่อทาหน้าที่บริหารจัดการยางพาราของประเทศทั้งระบบอย่างครบวงจร อีกส่วนหนึ่งคือต้องเร่งพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าหรือ AFET ให้เข้มแข็ง เพื่อเป็นแหล่งรองรับสินค้าในราคายุติธรรม สร้างศักยภาพการแข่งขันให้กับเกษตรกร และรัฐควรส่งเสริมให้ผู้ประกอบการหาตลาดใหม่ๆ เพิ่มเติมเช่นตลาดในกลุ่ม BRIC (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน) ซึ่งเป็นประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วนอกจากนี้จะต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสร้างสัดส่วนการใช้ประโยชน์ในประเทศให้สูงขึ้น ด้วยการลงทุนวิจัยเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันให้เกิดการใช้ยางในประเทศ เพิ่มขึ้นลดความเสี่ยงในการส่งออก คิด ค้นและพัฒนาผลผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อสร้าง มูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้น เช่น การพัฒนาวัตถุดิบ ยางไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ซึ่งเป็นนวัตกรรม แบบก้าวกระโดด (Radical Innovation) เช่น อุตสาหกรรมเครื่องสาอางจากสารสกัดเปลือกไม้ยางพารา เป็นต้น ปัจจุบันจีนนับเป็นประเทศผู้ใช้ยางพารารายใหญ่ที่สุดในโลก เฉลี่ย 5 ปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 32.23 ของปริมาณการใช้ยางพาราของทั้งโลก 60% เป็นการ ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ปี 2553 จีนผลิตรถยนต์ 18.26 ล้านคัน ปี 2554 ผลิต รถยนต์ 18.42 ล้านคันเป็นอันดับ 1 ของโลก มณฑลที่นำเข้ายางพารามากที่สุดคือ ชานตง ซึ่งเป็นศูนย์กลางผลิตยางรถยนต์และอุตสาหกรรมแปรรูปยางที่สำคัญของจีน ขณะที่พื้นที่ปลูกยางของไทยอินโดนีเซียและมาเลเซียมีมากกว่า 60% ของโลก แต่ปัจจุบันพื้นที่ปลูกยางมาเลเซียลดลงเพราะหันไปปลูกปาล์มแทน ถึงกระนั้นตั้งแต่ปี 2549-2554 พื้นที่ปลูกยางโลกก็เพิ่มขึ้น 14.26% เฉลี่ยปีละ 2.71% กลุ่มการศึกษายางระหว่างประเทศ (International Rubber Study Group : IRSG) ศึกษาพบว่าในอนาคตประเทศผู้ผลิตยางไทยและมาเลเซียสนใจปลูกยางในประเทศอื่น เช่น พม่า ลาว กัมพูชา เพราะที่ดินใน ประเทศไม่เพียงพอ

Read more...

วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

ผู้อำนวยการ สวท.สงขลาพร้อมคณะ เข้าเยี่ยมกงสุลใหญ่จีน สานสัมพันธ์งานด้านการประชาสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ พร้อมแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อวิทยุ สวท.สงขลาและวิทยุปักกิ่ง(CRI) เตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ข่าว สุธิดา พฤกษ์อุดม / ผู้อำนวยการ สวท.สงขลาพร้อมคณะ เข้าเยี่ยมกงสุลใหญ่จีน สานสัมพันธ์งานด้านการประชาสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ พร้อมแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อวิทยุ สวท.สงขลาและวิทยุปักกิ่ง(CRI) เตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

นายณรงค์ ชื่นนิรันดร์ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดสงขลา(สวท.สงขลา) เปิดเผยหลังจากนำคณะเข้าเยี่ยมกงสุลใหญ่จีน ว่า จังหวัดสงขลาเป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคใต้ ที่มีชาวจีนมาอาศัยประกอบธุรกิจและท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก โดยในแต่ละปีจังหวัดสงขลามีกิจกรรมที่น่าสนใจต่างๆ มากมายตลอดทั้งปี ประกอบกับในปี 2558 ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ดังนั้น เพื่อเป็นการสานสัมพันธ์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีน ในฐานะที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงที่มีสัมพันธไมตรีอันดีกันมาช้านาน จึงอยากให้มีการประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวชาวจีนเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดสงขลา พร้อมกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในการลิงค์สัญญาณระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีน เพื่อออกอากาศข่าวสารต่างๆของทั้ง 2 ประเทศ ผ่านทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดสงขลา กับ สถานีวิทยุกระจายเสียงระหว่างประเทศแห่งชาติจีน หรือ CRI (China Radio International) แห่งนครปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นสถานีวิทยุที่นำเสนอข่าวสารของประเทศจีนในภาคภาษาไทย เพื่อเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีนให้มีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น

ทางด้าน นายสวี่ หมิงเลี่ยง ( Mr.Xu Mingliang) กงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำจังหวัดสงขลา กล่าวว่า ในฐานะที่ท่านเคยปฏิบัติงานด้านสื่อสารมวลชนของวิทยุปักกิ่งมาก่อน ทางด้านสถานกงสุลฯ พร้อมที่จะให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกในการดำเนินการดังกล่าวอย่างเต็มที่ เพราะประเทศไทยกับประเทศจีนถือได้ว่าเป็นเมืองพี่เมืองน้องที่มีสัมพันธไมตรีอันดีกันมาอย่างช้านาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนชาวจีนได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบรมวงศานุวงศ์ของไทยทุกพระองค์ โดยเฉพาะสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังประเทศจีนและเสด็จไปยังวิทยุปักกิ่งอยู่บ่อยครั้ง สำหรับวิทยุปักกิ่งออกอากาศถึง 38 ภาษา ทั่วโลก ซึ่งภาคภาษาไทย ได้รับความสนใจจากผู้ฟังเป็นจำนวนมาก ขณะที่ สวท.สงขลา ได้ดำเนินการบันทึกเสียงวรรณกรรมจีนเรื่อง "ซิ ยิน กุ้ย" เตรียมออกอากาศทางสถานีฯ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมอันดีระหว่างกัน  ในโอกาสนี้ผู้อำนวยการ สวท.สงขลา ได้มอบของที่ระลึกแก่กงสุลใหญ่จีน โดยทางด้านกงสุลใหญ่จีนได้มอบเทปวิดีทัศน์พร้อมหนังสือเกี่ยวกับประเทศจีนในการนำไปประชาสัมพันธ์ทาง สวท.สงขลาต่อไป

Read more...

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1จัดงาน “สานฝัน แบ่งปันรอยยิ้ม” ยกย่องเชิดชูสถานศึกษา พัฒนาคุณภาพการศึกษา รักษาเอกลักษณ์ความเป็นคนไทย 7 ประการ เตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ข่าว สันติภาพ รามสูต / สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1จัดงาน "สานฝัน แบ่งปันรอยยิ้ม" ยกย่องเชิดชูสถานศึกษา พัฒนาคุณภาพการศึกษา รักษาเอกลักษณ์ความเป็นคนไทย 7 ประการ เตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

 วันนี้(6ก.ย.55) ที่ โรงแรมวีว่า อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานเปิดงาน "สานฝัน แบ่งปันรอยยิ้ม" ชึ่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 จัดขึ้น เนื่องจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ได้นำนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดสงขลา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาบูรณาการเป็นนโยบายเพื่อการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ประจำปีงบประมาณ 2555 ให้สถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ ขับเคลื่อนให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา รักษาเอกลักษณ์ความเป็นคนไทย 7 ประการ ประกอบด้วย นโยบายข้อที่ 1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นโยบายข้อที่ 2 การอ่านออกเขียนได้ นโยบายข้อที่ 3คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทย ยิ้ม ไหว้ ทักทาย เป็นคนดี มีความกตัญญูกตเวทีและ มีจิตสาธารณะ นโยบายข้อที่ 4 หนึ่งโรงเรียน หนึ่งอาชีพ นโยบายข้อที่ 5 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร นโยบายข้อที่ 6 อาเซียนศึกษา และนโยบายข้อที่ 7 โรงเรียนน่าอยู่  ผลการดำเนินงานที่ผ่านมามีสถานศึกษาที่สามารถนำนโยบายดังกล่าวไปปฏิบัติ ประสบความสำเร็จมีผลงานโดดเด่น สามารถเป็นแบบอย่างให้กับผู้อื่นได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการยกย่อง เชิดชูเกียรติ ให้ขวัญกำลังใจ แก่สถานศึกษาที่มีผลการดำเนินงานดีเด่น ตลอดจนเพื่อเผยแพร่ผลงานของสถานศึกษาให้สารธารณชนรับทราบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 จึงได้จัดงาน "สานฝัน แบ่งปันรอยยิ้ม" โดยการจัดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานดีเด่นของโรงเรียน และกิจกรรมประกวด/แข่งขัน ทักษะของนักเรียน ในระหว่าง วันที่ 6- 7 กันยายน 2555 ณ ลานดนตรีและลานวัฒนธรรม เทศบาลนครสงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา หลังจากนั้น ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้บรรยายพิเศษเรื่อง "การนำอาเซียนศึกษาเข้าสู่ห้องเรียน" เพื่อให้สถานศึกษาระดับประถมศึกษาเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี2558 โดยมีการจัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนโดยเฉพาะ

Read more...

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

สมาชิกชมรมนกเขาชวาเสียงอำเภอจะนะ 147 แห่ง เร่งพัฒนาฟาร์มนกเขาเพื่อยกระดับมาตรฐานการเลี้ยงสู่ระดับสากล รองรับการส่งออกตลาดนกเขาชวาเสียงในกลุ่มประเทศอาเซียน

ข่าว สันติภาพ รามสูต / สมาชิกชมรมนกเขาชวาเสียงอำเภอจะนะ 147 แห่ง เร่งพัฒนาฟาร์มนกเขาเพื่อยกระดับมาตรฐานการเลี้ยงสู่ระดับสากล รองรับการส่งออกตลาดนกเขาชวาเสียงในกลุ่มประเทศอาเซียน 

อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งเพาะพันธุ์นกเขาชวาเสียง ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในกลุ่มของผู้เลี้ยงนกเขาชวาทั้งในและต่างประเทศ โดยปัจจุบันได้มีการรวมกลุ่มกันตั้งเป็นชมรมนกเขาชวาเสียงอ.จะนะ ขึ้นมีสมาชิกทั้งหมด 147 ราย นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้เลี้ยงรายย่อยอีกหลายรายและแทบทุกหลังคาเรือนจะมีกรงนกเขาแขวนไว้หน้าบ้าน แต่จากปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดนกเมื่อปี47 ทำให้การส่งออกนกเขาชวาเสียงไปยังตลาดในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียต้องหยุดชะงัก และเป็นในลักษณะการลักลอบส่งออก ทำให้ขณะนี้บรรดาฟาร์มเพาะเลี้ยงนกเขา ในพื้นที่อ.จะนะ ต้องปรับตัวและเร่งพัฒนาฟาร์มเพาะเลี้ยงนกเขาให้ได้มาตรฐานตามที่กรมปศุสัตว์กำหนด ทั้งระบบการจัดการฟาร์ม การเลี้ยง และการควบคุมโรค ให้เหมือนกับฟาร์มการเลี้ยงสัตว์ปีกในระดับส่งออกทั่วไป เพื่อให้ได้ใบรับรองมาตรฐานจากกรมปศุสัตว์และเป็นใบเบิกทางในการส่งออกนกเขาชวาเสียงไปยังตลาดต่างประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยเฉพาะในอินโดนีเซียและมาเลเซีย ซึ่งขณะนี้ทางกรมปศุสัตว์กำลังประสานความร่วมมือกับทั้งสองประเทศเพื่อให้สามารถกลับมานำเข้าส่งออกนกเขาชวาเสียงอย่างถูกต้องตามกฏหมายอีกครั้งในต้นปีหน้า นายดิเรก โดดะแซ เจ้าของฟาร์มเลี้ยงนกเขาตอเล๊ะ ในพื้นที่หมู่6 ต.ตลิ่งชัน อ.จะนะ หนึ่งในฟาร์มเพาะเลี้ยงนกเขาชวาเสียงที่ใหญ่ที่สุดในอ.จะนะ โดยมีนกเขาชวาในฟาร์มกว่า 1 พันตัวและแต่ละปีสามารถทำเงินจากการส่งออกนกเขากว่า 2 ล้านบาท และมีพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ระดับราคา1 ล้านบาทอยู่ในฟาร์ม1 คู่ กล่าวว่า   ผู้ประกอบการฟาร์มนกเขาในอ.จะนะ ทั้งรายเล็กและรายใหญ่จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อพัฒนาฟาร์มเลี้ยงนกเขาให้ได้มาตรฐานในระดับสากล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าต่างประเทศรองรับการก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งเชื่อว่าตลาดยังขยายตัวได้อีกมาก และจะเป็นสัตว์เศรษฐกิจอีกตัวหนึ่งชนิดของไทยที่จะสามารถสร้างเม็ดเงินเข้าประเทศได้นับร้อยล้านบาทในแต่ละปี นอกเหนือจากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องทั้งกรงนก อาหาร และอุปกรณ์การเลี้ยงซึ่งสร้างรายได้ในระดับชุมชน ทั้งนี้เนื่องจากการส่งออกนกเขาไปยังต่างประเทศยังคงประสบปัญหาและถูกกีดกันเพราะทุกประเทศยังห่วงเรื่องโรคไข้หวัดนก ที่สำคัญคือกลุ่มผู้เลี้ยงนกเขาในอ.จะนะ จะต้องรวมตัวเพื่อรักษาชื่อเสียงคุณภาพของนกเขาชวาเสียงในอ.จะนะ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์และคุณภาพเสียงเฉพาะตัวให้อยู่อันดับหนึ่งของกลุ่มประเทศอาเซียน เนื่องจากขณะนี้หลายประเทศพยายามพัฒนาสายพันธุ์นกเขาชวาเสียงให้สามารถเทียบเคียงกับสายพันธุ์ของนกเขาจะนะ

 

 

Read more...