วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

ICT ส่งเสริม E-COMMERCE ไทยก้าวไกลสู่ AEC 2015

Pstitch / ICT ส่งเสริม E-COMMERCE ไทยก้าวไกลสู่ AEC 2015 วรพัฒน์ ทิวถนอม รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดงานประชุมวิชาการโครงการส่งเสริมการทาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง "ส่งเสริม e-Commerce ไทยก้าวไกลสู่ AEC 2015 ว่า ในปี พ.ศ.2558 หรือ ในปี ค.ศ. 2015 ทั้ง10 ชาติอาเซียนจะมีการรวมตัวกัน ภายใต้ชื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community : AEC) เพื่อสร้างตลาดรวมทั้งฐานการผลิตเดียวกัน และแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน ตลอดจนสร้างอานาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้า ในภูมิภาคอื่นๆ โดยได้มีการกำหนดให้แต่ละประเทศมีจุดเด่นด้านต่างๆ เช่น ประเทศพม่า มีจุดเด่นด้านสาขาเกษตรและประมง ประเทศมาเลเซีย มีจุดเด่นด้านสาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอประเทศสิงคโปร์ มีจุดเด่นด้านสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ ส่วนประเทศไทยมีจุดเด่นด้านสาขาการท่องเที่ยว และสาขาการบิน ประเทศไทยนั้น มีภูมิประเทศอยู่ตรงกลางของอาเซียน จึงเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางโครงข่ายเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ อย่างไรก็ตาม ไทยยังมีโอกาสในการส่งเสริมอุตสาหกรรมอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย หากมีการพัฒนาโดยหน่วยงานภาครัฐ เช่น การจัดให้มีสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างทั่วถึง มีระบบการเงินการธนาคารที่เข้มแข็ง สนับสนุนและอานวยความสะดวกให้กับภาคเอกชนตั้งแต่การเป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตร และการบริการไปจนถึงการตลาด เพื่อให้เกิดการค้าขายอย่างครบวงจรเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงานได้ดาเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตลอด แต่สิ่งสาคัญ คือ ผู้ประกอบการที่อยู่ในแต่ละอุตสาหกรรมซึ่งเป็นแหล่งรายได้สาคัญของประเทศที่สามารถสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศคิดเป็นมูลค่ากว่า 3.7 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 38 ของจีดีพี จากจานวนSMEs ที่มีมากถึง 2.9 ล้านราย และจากการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีความต้องการในการเข้าถึงตลาดและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาช่วยในการพัฒนาศักยภาพให้กับธุรกิจ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สมใจ ประเสริฐจีรังกุล ผู้อานวยการสานักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สานักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า ในแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้ให้ความสาคัญกับการพัฒนาด้าน e-Commerce โดยบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานดังกล่าวซึ่งจากการสารวจสถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย พ.ศ. 2554 ของสานักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า มูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น จากปีแรกที่ทาการสารวจ คือ ปี พ.ศ. 2550 ที่มีมูลค่าขายรวม 305,159 ล้านบาท มาเป็น608,587 ล้านบาท ในการสารวจรอบปี พ.ศ. 2553 ซึ่งพบว่ามีมูลค่าสูงขึ้นถึงร้อยละ 199.432 หรือประมาณ 2 เท่าตัว ดังนั้น จึงได้มีการดาเนินการโครงการส่งเสริมการทาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการทาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยได้มีการจัดประชุมแบบเจาะจงกลุ่มเปูาหมายเพื่อรวบรวมข้อมูลมาจัดทาเป็นแนวทางในการส่งเสริมการทาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการทาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 5 อันดับแรก คือ1. อุตสาหกรรมแฟชั่น เสื้อผ้า เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ 2. อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอินเทอร์เน็ต 3.อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 4. อุตสาหกรรมบริการด้านสุขภาพ และ 5. อุตสาหกรรมบริการด้านการศึกษา นอกจากนี้ ยังมีการจัดงานประชุมวิชาการโครงการส่งเสริมการทาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ในหัวข้อ "ส่งเสริม e-Commerce ไทยก้าวไกลสู่ AEC 2015 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และผู้สนใจทั่วไปในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี พ.ศ.2558 รวมทั้งเพื่อร่วมวิเคราะห์ถึงแนวโน้มของธุรกิจ e-Commerce ไทย ในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ.2558 เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการทาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการและผู้สนใจทั่วไป รวมทั้งเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้มีการนาข้อมูลไปใช้ในการสนับสนุนการดาเนินงานของภาคธุรกิจต่อไป