วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

อนาคตยางพาราไทย ภายใต้ AEC เลิกกองทุนสงเคราะห์สวนยาง?

Pstitch / อนาคตยางพาราไทย ภายใต้  AEC เลิกกองทุนสงเคราะห์สวนยาง? ผศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้เสนอแนะนโยบายเร่งด่วนเพื่อพัฒนายางพาราไทย ภายใต้ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนและอาเซียน +3 (เกาหลี ใต้ ญี่ปุ่น และจีน) โดยให้ไทยเป็นศูนย์ กลางยางพารา (HUB) เนื่องจากว่าไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ซึ่งเป็นจุดแข็งในการสร้างอำนาจต่อรองและเป็นผู้กำหนดราคา อีกทั้งยังจะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตอุตสาหกรรมปลายน้ำของยางพาราและอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มจากการแปรรูปยางพาราอีกทางหนึ่งด้วย รัฐต้องปล่อยให้ราคายางเป็นไปตามกลไกตลาดไม่แทรกแซง แต่ควรหันไปส่งเสริมอุตสาหกรรมปลายน้ำและการสร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์ยางต่างๆ เพื่อช่วยแก้ปัญหาทั้งราคาและการพึ่งพิงตลาดต่างประเทศ อีกทั้งจะต้องเร่งการจัดตั้งการยางแห่งประเทศไทย ด้วยการยกร่างพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทยให้ยกเลิกกองทุนสงเคราะห์การทาสวนยางและองค์การสวนยางและให้จัดตั้งการยางแห่งประเทศไทย เพื่อทาหน้าที่บริหารจัดการยางพาราของประเทศทั้งระบบอย่างครบวงจร อีกส่วนหนึ่งคือต้องเร่งพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าหรือ AFET ให้เข้มแข็ง เพื่อเป็นแหล่งรองรับสินค้าในราคายุติธรรม สร้างศักยภาพการแข่งขันให้กับเกษตรกร และรัฐควรส่งเสริมให้ผู้ประกอบการหาตลาดใหม่ๆ เพิ่มเติมเช่นตลาดในกลุ่ม BRIC (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน) ซึ่งเป็นประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วนอกจากนี้จะต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสร้างสัดส่วนการใช้ประโยชน์ในประเทศให้สูงขึ้น ด้วยการลงทุนวิจัยเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันให้เกิดการใช้ยางในประเทศ เพิ่มขึ้นลดความเสี่ยงในการส่งออก คิด ค้นและพัฒนาผลผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อสร้าง มูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้น เช่น การพัฒนาวัตถุดิบ ยางไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ซึ่งเป็นนวัตกรรม แบบก้าวกระโดด (Radical Innovation) เช่น อุตสาหกรรมเครื่องสาอางจากสารสกัดเปลือกไม้ยางพารา เป็นต้น ปัจจุบันจีนนับเป็นประเทศผู้ใช้ยางพารารายใหญ่ที่สุดในโลก เฉลี่ย 5 ปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 32.23 ของปริมาณการใช้ยางพาราของทั้งโลก 60% เป็นการ ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ปี 2553 จีนผลิตรถยนต์ 18.26 ล้านคัน ปี 2554 ผลิต รถยนต์ 18.42 ล้านคันเป็นอันดับ 1 ของโลก มณฑลที่นำเข้ายางพารามากที่สุดคือ ชานตง ซึ่งเป็นศูนย์กลางผลิตยางรถยนต์และอุตสาหกรรมแปรรูปยางที่สำคัญของจีน ขณะที่พื้นที่ปลูกยางของไทยอินโดนีเซียและมาเลเซียมีมากกว่า 60% ของโลก แต่ปัจจุบันพื้นที่ปลูกยางมาเลเซียลดลงเพราะหันไปปลูกปาล์มแทน ถึงกระนั้นตั้งแต่ปี 2549-2554 พื้นที่ปลูกยางโลกก็เพิ่มขึ้น 14.26% เฉลี่ยปีละ 2.71% กลุ่มการศึกษายางระหว่างประเทศ (International Rubber Study Group : IRSG) ศึกษาพบว่าในอนาคตประเทศผู้ผลิตยางไทยและมาเลเซียสนใจปลูกยางในประเทศอื่น เช่น พม่า ลาว กัมพูชา เพราะที่ดินใน ประเทศไม่เพียงพอ